หลายคนที่สั่งของเข้ามาแล้วพบว่าสินค้าไม่สามารถเคลียร์ออกมาจากด่านได้ เพราะว่าสินค้านั้นติดใบอนุญาต แต่หลาย ๆ คนก็ยังมีรู้ว่าทำไมสินค้าของเราต้องติดใบอนุญาต สำหรับบทความนี้เราจะมาอธิบายกันให้ทุกคนเข้าใจว่าทำไมสินค้าของเราติดใบอนุญาตและไม่สามารถนำเข้ามาได้
สินค้าติดใบอนุญาตคืออะไร
สินค้าที่นำเข้าโดยทั่วไปจะมีทั้งแบบติดใบอนุญาต และไม่ติดใบอนุญาต สินค้าติดใบอนุญาตนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานที่มีอำนาจควบคุมสินค้ามีกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อออกมาควบคุมสินค้าที่นำเข้าให้ต้องได้รับอนุญาตก่อนที่จะนำเข้ามาได้ หรือบางกรณีหน่วยงานต่างๆ อาจจะมีฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อห้ามนำเข้าเลยก็ได้
ของต้องห้าม ของต้องกำกัด
ในกรณีที่หน่วยงานมีกฎหมายควบคุมให้ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับก่อนนำเข้านั้น ในทางศุลกากรเราจะเรียกของที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้าว่า “ของต้องกำกัด” ซึ่งของต้องกำกัดนั้นหากผู้นำเข้าไม่มีใบอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่สามารถนำเข้าได้และจะต้องยกของให้ตกเป็นของแผ่นดิน ในส่วนของที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออก ฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ห้ามนำเข้าโดยเด็ดของ ในทางศุลกากรเราจะเรียกของเหล่านั้นว่า “ของต้องห้าม” ซึ่งจะเป็นของต้องห้ามนำเข้าโดยเเด็ดขาด
ตัวอย่างของต้องห้าม
- ของละเมิดลิขสิทธิ์
- ยาเสพย์ติด ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ยาเสพย์ติด
- วัตถุลามก ไม่ว่าจะรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี ฯลฯ
- ของที่มีถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ตามพ.ร.บ. ห้ามนำของที่มีถิ่นกำเนิดเป็นเท็จเข้าสู่ราชอาณาจักร พ.ศ. 2481
- สินค้าปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
ตัวอย่างของต้องกำกัด
- ยา การนำเข้ายาจะต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
- เครื่องสำออาง การนำเข้าเครื่องสำอางค์จะต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง
- อาหาร การนำเข้าต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ตาม พ.ร.บ. อาหาร
- เครื่องวิทยุโทรคมนาคม ต้องขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
- พืช เมล็ดพืช ส่วนต่าง ๆ ของพืชต้องขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร ตาม พ.ร.บ. กักพืช
- สินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิดเช่น ของเล่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หลอดไฟ ต้องอนุญาตจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ตัวอย่างของต้องห้ามต้องกำกัดที่เราได้ยกขึ้นมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีของต้องห้ามต้องกำกัดอีกมากมาย ที่หน่วยงานต่างๆ มีกฎหมายออกมาควบคุมการนำเข้า-ส่งออก ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก ควรจะศึกษาข้อกฎหมายให้ดีก่อนการนำเข้าทุกครั้งว่าของที่เรานำเข้านั้นมีกฎหมายอะไรควบคุมอยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อสินค้ามาถึง สำหรับบทความนี้ JP CARGO SERVICE ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านครับ