การนำเข้าสินค้านั้นจะต้องมีการเสียภาษี หากเป็นสินค้าโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ
- ภาษีนำเข้า (DUTY) อัตราภาษีนำเข้าไม่คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
แต่ทั้งนี้นั้น สินค้าบางชนิดอาจจะมีภาษีอย่างอื่นอีก เช่น เหล้า รถยนต์ น้ำมัน จะต้องเสีย ภาษีสรรพสามิตร อีก เป็นต้น
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะคิดแบบคงที่ส่วนภาษีนำเข้านั้นจะขึ้นอยู่กับว่าสินค้าของคุณมี HS CODE หรือพิกัดอัตราศุลกากรอะไร จากนั้นเราจะต้องตรวจสอบว่าสินค้าของเรานั้นมีอัตราภาษีนำเข้ากี่เปอร์เซ็นต์ สำหรับวิธีการตรวจสอบภาษีนำเข้าโดยละเอียดให้ท่านลองอ่านบทความ เช็คภาษีนำเข้า
ตัวอย่างสินค้านำเข้าพร้อมอัตราภาษีนำเข้า
สำหรับบทความนี้เราจะมาลองดูตัวอย่างสินค้าที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรากันว่าแต่ละอย่างมีอัตราภาษีนำเข้ากี่เปอร์เซ็นกันบ้าง
- อัตราภาษีนำเข้า เมล็ดกาแฟในโควต้า 60% นอกโควต้า 90% (ในโควต้าหมายถึงต้องมีหนังสือรับรองการได้รับโควต้าจากกระทรวงพาณิชย์)
- อัตราภาษีนำเข้า รถยนต์ 80% และต้องมีภาษีสรรพสามิตรด้วย
- อัตราภาษีนำเข้า อะไหล่รถยนต์ 30%
- อัตราภาษีนำเข้า เครื่องจักร 0%-10%
- อัตราภาษีนำเข้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า เช่น โทรทัศน์ อัตรา 20% TV Box อัตรา 20% เครื่องคอมพิวเตอร์ อัตรา 0% อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป 10% เป็นต้น
- อัตราภาษีนำเข้า กระเป๋า 20%
- อัตราภาษีนำเข้า เครื่องสำอางค์ 30%
- อัตราภาษีนำเข้า อาหารเสริม 5%-30%
- อัตราภาษีนำเข้า เครื่องมือแพทย์ 0%-10%
- อัตราภาษีนำเข้า ต้นไม้ 0%
- อัตราภาษีนำเข้า อุปกรณ์การเกษตร ขึ้นอยู่กับว่าเป็นอะไรถ้าเป็นของทั่วไปใช้งานด้วยมือ 10%
- อัตราภาษีนำเข้าเสื้อผ้า 30%
เมื่อเรารู้แล้วว่าอัตราภาษีนำเข้าของเรามีกี่เปอร์เซนต์ เราจะสามารถคำนวนหาภาษีอากรที่เราต้องจ่ายได้โดยคำนวนจากราคา CIF ซึ่งเป็นราคามาตรฐานที่ใช้ในการสำแดงในใบขนสินค้า ส่วนวิธีการคำนวนภาษี คำนวนโดยนำราคา CIF มาคูณกับอัตราภาษีนำเข้า จะได้ค่าภาษีอากรนำเข้า จากนั้นนำภาษีนำเข้ามารวมกับราคา CIF จากนั้นนำไปคูณคำนวนหา VAT7% ก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราต้องชำระ
การใช้อัตราภาษีนำเข้ามาคำนวนอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม
สมมุติว่าเรานำสินค้าอะไหล่รถยนต์ ราคา CIF 100,000 บาท จะมีอัตราภาษีนำเข้า 30% คือ 30,000 บาท จากนั้นนำ ราคา CIF 100,000 บาท + ภาษีนำเข้า 30,000 บาท รวม 130,000 บาท จากนั้นนำฐานราคามูลค่าเพิ่ม 130,000 บาท มาคำนวน VAT 7% เท่ากับ 9,100 บาท ดังนั้น จะต้องเสียภาษีดังนี้
- ภาษีนำเข้า (Duty) จำนวน 30,000 บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) จำนวน 9,100 บาท