Skip to content
Home » สินค้านำเข้าติดใบอนุญาต

สินค้านำเข้าติดใบอนุญาต

  • by
สินค้าติดใบอนุญาต

หลายคนที่สั่งของเข้ามาแล้วพบว่าสินค้าไม่สามารถเคลียร์ออกมาจากด่านได้ เพราะว่าสินค้านั้นติดใบอนุญาต แต่หลาย ๆ คนก็ยังมีรู้ว่าทำไมสินค้าของเราต้องติดใบอนุญาต สำหรับบทความนี้เราจะมาอธิบายกันให้ทุกคนเข้าใจว่าทำไมสินค้าของเราติดใบอนุญาตและไม่สามารถนำเข้ามาได้

สินค้าติดใบอนุญาตคืออะไร ?

สินค้าที่นำเข้าโดยทั่วไปจะมีทั้งแบบติดใบอนุญาต และไม่ติดใบอนุญาต สินค้าติดใบอนุญาตนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานที่มีอำนาจควบคุมสินค้ามีกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อออกมาควบคุมสินค้าที่นำเข้าให้ต้องได้รับอนุญาตก่อนที่จะนำเข้ามาได้ หรือบางกรณีหน่วยงานต่างๆ อาจจะมีฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อห้ามนำเข้าเลยก็ได้ เช่น ยาเสพติด งาช้าง นอแรด เป็นต้น

ของต้องห้าม ของต้องกำกัด คืออะไร ?

ในกรณีที่หน่วยงานมีกฎหมายควบคุมให้ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับก่อนนำเข้านั้น ตามกฎหมายศุลกากรจะเรียกของที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนนำเข้าว่า “ของต้องกำกัด” ซึ่งของต้องกำกัดนั้นหากผู้นำเข้าไม่มีใบอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่สามารถนำเข้าได้และจะต้องยกของให้ตกเป็นของแผ่นดิน เช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ส่วนของต้องห้ามนั้นเป็นกรณีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออก ฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด เช่น ยาเสพติด งาช้าง นอแรด เป็นต้น

ตัวอย่างของต้องห้าม

  • ของละเมิดลิขสิทธิ์ 
  • ยาเสพย์ติด ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ยาเสพย์ติด
  • วัตถุลามก ไม่ว่าจะรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี ฯลฯ
  • ของที่มีถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ตามพ.ร.บ. ห้ามนำของที่มีถิ่นกำเนิดเป็นเท็จเข้าสู่ราชอาณาจักร พ.ศ. 2481
  • สินค้าปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า

ตัวอย่างของต้องกำกัด

  • ยา การนำเข้ายาจะต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
  • เครื่องสำออาง การนำเข้าเครื่องสำอางค์จะต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง
  • อาหาร การนำเข้าต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ตาม พ.ร.บ. อาหาร
  • เครื่องวิทยุโทรคมนาคม ต้องขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
  • พืช เมล็ดพืช ส่วนต่าง ๆ ของพืชต้องขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร ตาม พ.ร.บ. กักพืช
  • สินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิดเช่น ของเล่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หลอดไฟ ต้องอนุญาตจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

ตัวอย่างของต้องห้ามต้องกำกัดที่เราได้ยกขึ้นมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีของต้องห้ามต้องกำกัดอีกมากมาย ที่หน่วยงานต่างๆ มีกฎหมายออกมาควบคุมการนำเข้า-ส่งออก ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก ควรจะศึกษาข้อกฎหมายให้ดีก่อนการนำเข้าทุกครั้งว่าของที่เรานำเข้านั้นมีกฎหมายอะไรควบคุมอยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อสินค้ามาถึง สำหรับบทความนี้ JP CARGO SERVICE ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านครับ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line ID : @jpcargoservice ครับ

ส่งสินค้า Fedex ติด ศุลกากร

บางครั้งเมื่อส่งสินค้ามากับ Fedex ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่างสินค้า ของใช้ส่วนตัว หรือสินค้าจากเว็บไซท์ E-Commerce ต่าง ๆ แล้วเราตรวจสอบ Tracking หรือมีเจ้าหน้าที่ของ Fedex ติดต่อเรามาว่าสินค้าติดติดอยู่ที่ด่านศุลกากร ทาง…

Read More
dhl-ติดศุลกากร

dhl ติด ศุลกากร

สวัสดีครับเพื่อนเพื่อนวันนี้ JP Cargo Service จะมาแนะนำบทความเกี่ยวกับกรณีที่เราสั่งสินค้ามาแล้วสินค้าส่งมากับ DHL แล้วสินค้าติดอยู่ที่ด่านศุลกากรนะครับ เนื่องจากบางครั้งเมื่อเพื่อนๆ ได้มีการสั่งสินค้าเข้ามาเพื่อ – เป็นตัวอย่างสินค้า- ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในต่างประเทศ- ส่งของใช้ส่วนตัวกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งในการนำเข้าหรือการส่งออกสินค้านั้น เนื่องจากสินค้าบางชนิดจะต้องมีการขออนุญาตก่อนการนำเข้า…

Read More

ภาษีในการนำเข้าสินค้า

ภาษีนำเข้าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง ภาษีนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการนั้น และเป็นรายได้ของรัฐบาลประเทศปลายทางที่ใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจและให้บริการส่วนสาธารณะต่างๆ ของประเทศนั้นๆ ภาษีนำเข้าสามารถคิดคำนวณตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ในประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง อัตราภาษีนำเข้าอาจแตกต่างกันไปตามสินค้าหรือบริการที่นำเข้า อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณสังเกตและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสินค้าหรือบริการเพื่อให้ไม่เกิดความผิดพลาดหรือความล่าช้าในกระบวนการศุนย์กลางและการนำเข้าสินค้าในประเทศปลายทาง นอกจากนี้ยังควรพิจารณาประโยชน์และเสียของการนำเข้าสินค้าด้วย เพราะภาษีนำเข้าอาจทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขายของสินค้า ทำให้ธุรกิจต้องหาแนวทางในการจัดการความเสี่ยงและกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่เปิดระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สำหรับในการนำเข้าสินค้าในประเทศไทยจะมีภาษีหลักภาษีที่ผู้นำเข้าต้องเสีย คือ อากรนำเข้า จะขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า…

Read More
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น

สำหรับท่าน ที่สนใจจะนำเข้าสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร บทความนี้ JP Cargo Service จะมาให้ข้อแนะนำเบื้องต้นในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เข้ามาจำหน่ายหรือเข้ามาใช้ สรุปสั้น ๆ ดังนี้ การวางแผนและศึกษากฎหมาย: ก่อนที่จะนำเข้าสินค้า คุณควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าต่าง…

Read More
ความผิดทางศุลกากร

ความผิดทางศุลกากร

ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดทางศุลกากรมีอะไรบ้างและมีค่าปรับหรือบทลงโทษอย่างไร สำหรับบทความนี้ JP Cargo Service จะมาอธิบายถึงความผิดทางศุลกากรว่า เมื่อเรานำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก มีความผิดที่มักจะพบอยู่เป็นประจำว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่ไว้เตือนตัวเองให้คอยตรวจสอบข้อมูลที่เราสำแดงในใบขนสินค้า เพื่อลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด 1. ความผิดฐานสำแดงเท็จ…

Read More
สินค้าเร่งด่วน (Express)

สินค้าเร่งด่วน (Express)

สินค้า Express คืออะไร สำหรับสินค้า Express คือสินค้าขาเข้าเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการของเร่งด่วนร้องขอให้กรมศุลกากรตรวจปล่อยทันทีที่ของมาถึง โดยสินค้าเร่งด่วนจะเป็นสินค้าตามประเภท 1-4 เท่านั้น โดยสินค้าเร่งด่วนจะต้องมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท…

Read More

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

en_USEN