สืบเนื่องจากในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทั่วโลกมีสินค้าเยอะมาก และแต่ละประเทศก็มีชื่อเรียกหรือภาษาของสินค้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการสื่อถึง จึงต้องมีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกจึงกำหนดให้มี Harmonized System Code โดยประเทศไทยจะเรียก HS Code ว่า พิกัดอัตราศุลกากร โดยมีกฎหมายรองรับคือ พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งจะเป็นตัวเลข 6 หรือ 8 หลัก (ในอาเซียนจะใช้ 8 หลักเพื่อแยกย่อยพิกัดอัตราศุลกากรลงไปอีก) เพื่อใช้ในการอ้างอิงถึงสินค้าที่นำเข้าหรือส่ง โดยในการนำเข้าหรือส่งออกผู้นำเข้าจะต้องสำแดงชื่อสินค้าและ HS Code
พิกัดอัตราศุลกากรหรือ HS Code ประกอบด้วยอะไรบ้าง
สำหรับประเทศไทยจะใช้ระบบพิกัดอัตราศุลกากรในแบบ 8 หลัก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จักรยานพิกัดอัตราศุลกากร 8712.00.30
เราเรียก 2 หลักแรกหรือ 87 ว่า “ตอน”
เราเรียก 4 หลักแรก 8712 ว่า “ประเภท”
เราเรียก 6-8 หลัก 8712.00 หรือ 8712.00.30 ว่า “ประเภทย่อย”
ในปัจจุบัน (ปี 2022) จะมีพิกัดทั้งหมดประมาณ 21 หมวด 97 ตอน และประมาณ 5000 ประเภทย่อย (หมวดจะประกอบไปด้วยตอนหลายๆ ตอนแต่เลขหมวดจะไม่ปรากฎอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร) เมื่อคุณทราบแล้วว่าสินค้าของคุณจัดเข้าประเภทอะไรคุณก็จะสามารถหา อัตราภาษีนำเข้า ของสินค้าได้โดยเช็คพิกัดอัตราศุลกากรจากเว็บไซท์ เช็ค Hs Code ของกรมศุลกากร