มีเพื่อน ๆ หลายคนถามคำถามกันมายัง JP Cargo Service มากมาย ว่ามีเพื่อน แฟน ที่อยู่ต่างประเทศส่งของมาให้ และแจ้งมาว่าของติดอยู่ที่ศุลกากร และบางครั้งจะมีเจ้าหน้าที่โทรมาแจ้งว่าต้องเสียค่าใช้จ่าย อาทิเช่น
- ค่าเคลียร์ศุลกากร
- ค่าภาษีนำเข้า
- ค่าส่งของ
โดยให้โอนเงินเป็นจำนวนเงินต่าง ๆ ชำระเข้าทางบัญชีเพื่อเคลียร์ของออกมาจากด่านศุลกากร สำหรับกรณีนี้ เราแนะนำให้ท่านตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนว่าของหรือสินค้าได้ถูกส่งมาจริง ๆ หรือไม่ โดยเรามีคำแนะนำดังนี้
ตรวจสอบว่าผู้ส่งคือใคร ?
เราขอแนะนำให้ระวังสินค้าที่ถูกส่งจากบุคคลที่เราไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว แต่รู้จักผ่านทาง Social เช่น Facebook เนื่องจากปัจจุบันมีแก๊ง
- โรแมนซ์สแคมเมอร์ (Romance Scammer) คือ เป็นพวกหลอกเป็นคู่รักกันและอ้างว่าจะส่งสินค้ามาให้ จากนั้นจะมีเอเย่นต์โทรมาแจ้งว่ามีสินค้าติดอยู่ที่ด่านศุลกากร ต้องโอนเงินชำระจำนวนเท่านั้น เท่านี้เพื่อจะเคลียร์ของออกมา
- หลอกว่ามีของมีค่าส่งมา และมีคนติดต่อมาว่าให้โอนเงินชำระค่าใช้จ่าย เพื่อจะเคลียร์ของออกมา
- หลอกว่ามีของตัวอย่างส่งมาให้ และให้โอนเงินเพื่อจะเคลียร์ของออกมา
สำหรับกรณีดังตัวอย่างจะเป็นกรณีที่คนโดนหลอกมากที่สุด แต่ก็ยังมีกรณีอื่น ๆ อีกที่มีพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กันคือมีเจ้าหน้าที่ติดต่อมาเพื่อให้โอนเงินชำระค่าเคลียร์สินค้า แต่หากเป็นการที่ท่านสั่งสินค้าจากเว็บไซท์ต่าง ๆ เช่น Amazon.com, E-bay.com กรณีนี้ผู้ส่งจะมีการส่งเลข Tracking มาให้เราสามารถนำเลขดังกล่าวไปตรวจสอบสถานะการขนส่งได้
ตรวจสอบบริษัท
ให้ท่านลองตรวจสอบบริษัทผู้ส่งว่ามีจริงหรือไม่ หากเป็นบริษัทนำเข้าจากประเทศไทย สามารถตรวจรายชื่อบริษัทได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากเป็นบริษัทต่างประเทศให้ลองค้นหาข้อมูลดูว่ามีข้อมูลเป็นหลักแหล่ง เช่นมีหน้าเว็บไซท์น่าเชื่อถือหรือไม่
ตรวจสอบ Airwaybill สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศยานหรือ Bill of lading (B/L) สำหรับการส่งสินค้าทางเรือ
หากสินค้าถูกส่งมาทางเครื่องบินหรือมาทางท่าอากาศยานสุงรรณภูมิ สินค้าจะต้องมี Airwaybill หรือใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน หรือ Bill of lading (B/L) สำหรับการส่งสินค้าทางเรือ ซึ่งเป็นเอกสารที่จำเป็นสำหรับการรับสินค้า หากไม่มีเอกสารเหล่านี้หรือเอกสารปลอมให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าท่านอาจจะโดนหลอกแล้ว โดยหมายเลข Airbaybill หรือ Bill of lading โดยทั่วไปแล้วจะต้องสามารถนำไปตรวจสอบกับเว็บไซท์โดยทั่วไป เช่น
1. DHL ให้เข้าเว็บไซท์ https://www.dhl.com/th-en/home/tracking.html?locale=true จากนั้นให้ใส่ตัวเลข Tracking ที่ได้รับมา

2. FedEx ให้เข้าเว็บไซท์ https://www.fedex.com/th-th/tracking.html จากนั้นให้ใส่เลข Tracking ที่ได้รับมา

3. UPS ให้เข้าเว็บไซท์ https://www.ups.com/track?loc=en_TH&requester=ST/ จากนั้นให้ใส่เลข Tracking ที่ได้รับมา

สรุป
หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้วเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะมีความรู้ในการตรวจสอบของนำเข้าก่อนที่จะมีการโอนเงินใด ๆ เพื่อป้องกันพวกมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการจัดส่งสินค้าจากคนที่เราไม่เคยรู้จักหรือจากคนที่เรารู้จักผ่านทางสื่อออนไลน์ หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามใดสามารถสอบถามเราได้ที่ @jpcargoservice สำหรับบทความนี้ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมากครับ
ภาษีในการนำเข้าสินค้า
ภาษีนำเข้าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง ภาษีนำเข้าเป็นส่…
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น
สำหรับท่าน ที่สนใจจะนำเข้าสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร บทความนี้ JP Cargo Service จะมาให้ข้อแนะ…
ความผิดทางศุลกากร
ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดท…
สินค้าเร่งด่วน (Express)
สินค้า Express คืออะไร สำหรับสินค้า Express คือสินค้าขาเข้าเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการของเร่งด่วนร้องขอ…
การนำเข้าจักรยาน
ปัจจุบันการปั่นจักรยานเป็นที่นิยมอย่างมาก มีตั้งแต่หลักพัน ไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับแบรนด์ วัสดุ ห…
สินค้านำเข้าติดใบอนุญาต
หลายคนที่สั่งของเข้ามาแล้วพบว่าสินค้าไม่สามารถเคลียร์ออกมาจากด่านได้ เพราะว่าสินค้านั้นติดใบอนุญาต แ…