ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดทางศุลกากรมีอะไรบ้างและมีค่าปรับหรือบทลงโทษอย่างไร สำหรับบทความนี้ JP Cargo Service จะมาอธิบายถึงความผิดทางศุลกากรว่า เมื่อเรานำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก มีความผิดที่มักจะพบอยู่เป็นประจำว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่ไว้เตือนตัวเองให้คอยตรวจสอบข้อมูลที่เราสำแดงในใบขนสินค้า เพื่อลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด
1. ความผิดฐานสำแดงเท็จ
ความผิดฐานสำแดงเท็จคือการที่เรานำสินค้าเข้ามาแล้ว สำแดงสินค้าที่นำเข้าในใบขนสินค้า ไม่ตรงกับสินค้าจริงที่เข้ามา โดยอาจจะเป็นการสำแดง
– พิกัดอัตราศุลกากร ไม่ถูกต้อง เช่น สำแดงในใบขนสินค้าอัตราอากร 10% แต่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าสินค้าดังกล่าวจะต้องเสียภาษีอากรในอัตรา 30%
– ปริมาณสินค้า ไม่ถูกต้อง
– สำแดงราคาสินค้า ไม่ถูกต้อง เช่น สำแดงสินค้าราคา 10,000 บาท แต่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าสินค้าราคาที่แท้จริงของสินค้าเป็น 100,000 บาท
เมื่อนำเข้าสินค้าเข้ามาแล้วมีการเปิดตรวจสินค้า เมื่อเจ้าหน้าที่นายตรวจพบว่าผู้นำเข้าสำสำแดงไม่ถูกต้อง จะต้องมีการจัดทำแฟ้มคดี โดยความผิดฐานสำแดงเท็จนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 202 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร แต่อย่างไรก็ดีการสำแดงเท็จบางครั้งอาจจะมีความผิดฐานอื่น ร่วมด้วย เช่น
– สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรก็จะเป็นความผิดตามาตรา 202 และมาตรา 243
– สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดจะเป็นความผิดตามมาตรา 202 และมาตรา 244 เป็นต้น
สำหรับบทลงโทษควาทผิดฐานสำแดงเท็จนั้นจะต้องดูว่ามีความผิดอื่นประกอบด้วยหรือไม่ เช่น หากเป็นสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามมาตรา 202 ประกอบ 243 โทษตามกฎหมายคือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่า
แต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมี
ผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม
2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด
ตามกฎหมายศุลกากร “ของต้องห้าม” หมายถึง ของที่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งห้ามนำเข้าหรือส่งออกอย่างเด็ดขาด เช่น วัตถุลามก ยาเสพติด ของละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น ส่วน “ของต้องกำกัด” หมายถึง ของกฎหมายกำหนดว่าจะนำเข้าหรือส่งออกจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น ต้องได้รับอนุญาต ต้องมีมาตรฐานรับรอง ก่อนถึงจะสามารถนำเข้าได้ เช่น การนำเข้าเครื่องสำอางจะต้องได้ขออนุญาตจาก อย. ก่อนจึงจะสามารถนำเข้าได้ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 244 ซึ่งมีบทลงโทษคือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่
3. ความผิดฐานลักลอบศุลกากร
ความผิดฐานลักลอบศุลกากร คือการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ไม่มีการจัดทำใบขนสินค้าใด ๆ เช่น การลักลอบนำของหนีภาษีเข้ามาทางตะเข็บชายแดน หรือในลักษณะกองทัพมดตามชายแดนต่าง ๆ ความผิดฐานลักลอบศุลกากรนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 242 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษคือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ริบของนั้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่
สำหรับบทความนี้เป็นตัวอย่างการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเป็นประจำเท่านั้น ในความเป็นจริงยังมีความผิดทางศุลกากรอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกควรจะศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาสินค้าติดด่านศุลกากร และป้องกันค่าปรับต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยสามารถหาอ่าน พ.ร.บ. ศุลกากร ฉบับเต็มได้ที่นี่ หากผู้อ่านมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ Line ID : @jpcargoservice สำหรับบทความนี้ขอบพระคุณมากครับ
ส่งสินค้า Fedex ติด ศุลกากร
บางครั้งเมื่อส่งสินค้ามากับ Fedex ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่างสินค้า ของใช้ส่วนตัว หรือสินค้าจากเว็บไซท์ E-Commerce ต่าง ๆ แล้วเราตรวจสอบ Tracking หรือมีเจ้าหน้าที่ของ Fedex ติดต่อเรามาว่าสินค้าติดติดอยู่ที่ด่านศุลกากร ทาง…
dhl ติด ศุลกากร
สวัสดีครับเพื่อนเพื่อนวันนี้ JP Cargo Service จะมาแนะนำบทความเกี่ยวกับกรณีที่เราสั่งสินค้ามาแล้วสินค้าส่งมากับ DHL แล้วสินค้าติดอยู่ที่ด่านศุลกากรนะครับ เนื่องจากบางครั้งเมื่อเพื่อนๆ ได้มีการสั่งสินค้าเข้ามาเพื่อ – เป็นตัวอย่างสินค้า- ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในต่างประเทศ- ส่งของใช้ส่วนตัวกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งในการนำเข้าหรือการส่งออกสินค้านั้น เนื่องจากสินค้าบางชนิดจะต้องมีการขออนุญาตก่อนการนำเข้า…
ภาษีในการนำเข้าสินค้า
ภาษีนำเข้าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง ภาษีนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการนั้น และเป็นรายได้ของรัฐบาลประเทศปลายทางที่ใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจและให้บริการส่วนสาธารณะต่างๆ ของประเทศนั้นๆ ภาษีนำเข้าสามารถคิดคำนวณตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ในประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง อัตราภาษีนำเข้าอาจแตกต่างกันไปตามสินค้าหรือบริการที่นำเข้า อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณสังเกตและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสินค้าหรือบริการเพื่อให้ไม่เกิดความผิดพลาดหรือความล่าช้าในกระบวนการศุนย์กลางและการนำเข้าสินค้าในประเทศปลายทาง นอกจากนี้ยังควรพิจารณาประโยชน์และเสียของการนำเข้าสินค้าด้วย เพราะภาษีนำเข้าอาจทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขายของสินค้า ทำให้ธุรกิจต้องหาแนวทางในการจัดการความเสี่ยงและกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่เปิดระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สำหรับในการนำเข้าสินค้าในประเทศไทยจะมีภาษีหลักภาษีที่ผู้นำเข้าต้องเสีย คือ อากรนำเข้า จะขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า…
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น
สำหรับท่าน ที่สนใจจะนำเข้าสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร บทความนี้ JP Cargo Service จะมาให้ข้อแนะนำเบื้องต้นในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เข้ามาจำหน่ายหรือเข้ามาใช้ สรุปสั้น ๆ ดังนี้ การวางแผนและศึกษากฎหมาย: ก่อนที่จะนำเข้าสินค้า คุณควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าต่าง…
ความผิดทางศุลกากร
ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดทางศุลกากรมีอะไรบ้างและมีค่าปรับหรือบทลงโทษอย่างไร สำหรับบทความนี้ JP Cargo Service จะมาอธิบายถึงความผิดทางศุลกากรว่า เมื่อเรานำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก มีความผิดที่มักจะพบอยู่เป็นประจำว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่ไว้เตือนตัวเองให้คอยตรวจสอบข้อมูลที่เราสำแดงในใบขนสินค้า เพื่อลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด 1. ความผิดฐานสำแดงเท็จ…
สินค้าเร่งด่วน (Express)
สินค้า Express คืออะไร สำหรับสินค้า Express คือสินค้าขาเข้าเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการของเร่งด่วนร้องขอให้กรมศุลกากรตรวจปล่อยทันทีที่ของมาถึง โดยสินค้าเร่งด่วนจะเป็นสินค้าตามประเภท 1-4 เท่านั้น โดยสินค้าเร่งด่วนจะต้องมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท…