ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดทางศุลกากรมีอะไรบ้างและมีค่าปรับหรือบทลงโทษอย่างไร สำหรับบทความนี้ JP Cargo Service จะมาอธิบายถึงความผิดทางศุลกากรว่า เมื่อเรานำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก มีความผิดที่มักจะพบอยู่เป็นประจำว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่ไว้เตือนตัวเองให้คอยตรวจสอบข้อมูลที่เราสำแดงในใบขนสินค้า เพื่อลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด
1. ความผิดฐานสำแดงเท็จ
ความผิดฐานสำแดงเท็จคือการที่เรานำสินค้าเข้ามาแล้ว สำแดงสินค้าที่นำเข้าในใบขนสินค้า ไม่ตรงกับสินค้าจริงที่เข้ามา โดยอาจจะเป็นการสำแดง
– พิกัดอัตราศุลกากร ไม่ถูกต้อง เช่น สำแดงในใบขนสินค้าอัตราอากร 10% แต่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าสินค้าดังกล่าวจะต้องเสียภาษีอากรในอัตรา 30%
– ปริมาณสินค้า ไม่ถูกต้อง
– สำแดงราคาสินค้า ไม่ถูกต้อง เช่น สำแดงสินค้าราคา 10,000 บาท แต่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าสินค้าราคาที่แท้จริงของสินค้าเป็น 100,000 บาท
เมื่อนำเข้าสินค้าเข้ามาแล้วมีการเปิดตรวจสินค้า เมื่อเจ้าหน้าที่นายตรวจพบว่าผู้นำเข้าสำสำแดงไม่ถูกต้อง จะต้องมีการจัดทำแฟ้มคดี โดยความผิดฐานสำแดงเท็จนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 202 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร แต่อย่างไรก็ดีการสำแดงเท็จบางครั้งอาจจะมีความผิดฐานอื่น ร่วมด้วย เช่น
– สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรก็จะเป็นความผิดตามาตรา 202 และมาตรา 243
– สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดจะเป็นความผิดตามมาตรา 202 และมาตรา 244 เป็นต้น
สำหรับบทลงโทษควาทผิดฐานสำแดงเท็จนั้นจะต้องดูว่ามีความผิดอื่นประกอบด้วยหรือไม่ เช่น หากเป็นสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามมาตรา 202 ประกอบ 243 โทษตามกฎหมายคือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่า
แต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมี
ผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม
2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด
ตามกฎหมายศุลกากร “ของต้องห้าม” หมายถึง ของที่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งห้ามนำเข้าหรือส่งออกอย่างเด็ดขาด เช่น วัตถุลามก ยาเสพติด ของละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น ส่วน “ของต้องกำกัด” หมายถึง ของกฎหมายกำหนดว่าจะนำเข้าหรือส่งออกจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น ต้องได้รับอนุญาต ต้องมีมาตรฐานรับรอง ก่อนถึงจะสามารถนำเข้าได้ เช่น การนำเข้าเครื่องสำอางจะต้องได้ขออนุญาตจาก อย. ก่อนจึงจะสามารถนำเข้าได้ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 244 ซึ่งมีบทลงโทษคือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่
3. ความผิดฐานลักลอบศุลกากร
ความผิดฐานลักลอบศุลกากร คือการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ไม่มีการจัดทำใบขนสินค้าใด ๆ เช่น การลักลอบนำของหนีภาษีเข้ามาทางตะเข็บชายแดน หรือในลักษณะกองทัพมดตามชายแดนต่าง ๆ ความผิดฐานลักลอบศุลกากรนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 242 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษคือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ริบของนั้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่
สำหรับบทความนี้เป็นตัวอย่างการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเป็นประจำเท่านั้น ในความเป็นจริงยังมีความผิดทางศุลกากรอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกควรจะศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาสินค้าติดด่านศุลกากร และป้องกันค่าปรับต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยสามารถหาอ่าน พ.ร.บ. ศุลกากร ฉบับเต็มได้ที่นี่ หากผู้อ่านมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ Line ID : @jpcargoservice สำหรับบทความนี้ขอบพระคุณมากครับ
ภาษีในการนำเข้าสินค้า
ภาษีนำเข้าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง ภาษีนำเข้าเป็นส่…
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น
สำหรับท่าน ที่สนใจจะนำเข้าสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร บทความนี้ JP Cargo Service จะมาให้ข้อแนะ…
ความผิดทางศุลกากร
ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดท…
สินค้าเร่งด่วน (Express)
สินค้า Express คืออะไร สำหรับสินค้า Express คือสินค้าขาเข้าเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการของเร่งด่วนร้องขอ…
การนำเข้าจักรยาน
ปัจจุบันการปั่นจักรยานเป็นที่นิยมอย่างมาก มีตั้งแต่หลักพัน ไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับแบรนด์ วัสดุ ห…
สินค้านำเข้าติดใบอนุญาต
หลายคนที่สั่งของเข้ามาแล้วพบว่าสินค้าไม่สามารถเคลียร์ออกมาจากด่านได้ เพราะว่าสินค้านั้นติดใบอนุญาต แ…