หลายคนที่ได้เคยนำเข้าสินค้ามาทาง DHL บางท่านก็พบว่าสินค้าไม่ติดด่านศุลกากร แต่บางครั้งก็ติดด่านศุลกากร ซึ่งสาเหตุนั้นก็เป็นเพราะว่าหากท่านนำสินค้าเข้าทาง DHL แล้วเป็นสินค้าปกติทั่วไปเช่น ราคาไม่ถึง 1,500 ก็จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีอากร ก็จะไม่ติดปัญหาเมื่อสินค้ามาถึงด่านศุลกากรสุวรรณภูมิและทาง DHL ก็จะสำแดงเป็นใบขนสินค้าขาเข้าเร่งด่วนรวมกันหลายๆ Shipment แต่หากท่านนำเข้าสินค้ามาทาง DHL แล้วเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเกิน 40,000 บาท หรือ เป็นของต้องห้ามต้องจำกัด เช่น ติดใบอนุญาต อย. ติดใบอนุญาตเกษตร ติดใบอนุญาต มอก. เป็นต้น ท่านจะต้องทำใบขนสินค้าแบบเต็ม (แบบ กศก. 99/1) โดยท่านจะต้องลงทะเบียน Paperless ผ่านระบบ Customs Trader Portal เพื่อให้สามารถส่งใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้ เมื่อส่งใบขนสินค้าได้แล้วจะต้องดำเนินการตรวจปล่อยกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้าต่อไป
นำสินค้าเข้ามากับ DHL แล้วติดด่านศุลกากรให้หาสาเหตุก่อน
ผมแนะนำว่าหากนำสินค้าเข้ามาแล้วติดด่านศุลกากรให้หาสาเหตุกับ DHL ก่อนว่าติดปัญหาเรื่องอะไร เช่น หาก DHL จัดทำใบขนแล้วเจ้าหน้าที่เห็นว่าสินค้าสำแดงราคาต่ำเกินไป ให้คุณเตรียมหลักฐานการชำระเงินเพื่อให้ทาง DHL นำไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ก่อน หรือหากสินค้าติดใบอนุญาตก็ให้ขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง เพราะหาก DHL ดำเนินการได้คุณจะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้ชิปปิ้งอิสระมาดำเนินการออกของแทน DHL แต่หากเป็นกรณีที่ DHL ไม่สามารถเคลียร์ได้เพราะว่าไม่สามารถขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง หรือต้องการปรึกษาเพื่อวางแผนค่าภาษีให้ถูกลง หรือต้องการให้ชิปปิ้งอิสระมาเคลียร์เพราะรู้ว่าสินค้ามาถึงสุวรรณภูมิแล้วติดแน่ๆ ให้รีบติดต่อชิปปิ้งมืออาชีพอย่างเร็วที่สุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่ายอย่างเช่น ค่าโกดังที่เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน
ตัวอย่างค่าโกดังที่เกิดขึ้นกรณีลูกค้าของเรานำสินค้าเข้ามากับ DHL แล้วติดที่ด่านศุลกากรสุวรรณภูมิ เป็นเวลา เพียง 9 วัน
ลูกค้าของเราสั่งสินค้ามาทาง DHL ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2564 แต่ติดปัญหาบางประการจึงไม่สามารถเคลียร์สินค้าออกมาได้จึงติดต่อมายัง JP Cargo Service เพื่อให้ออกของให้ แต่เนื่องจากเคสนี้ลูกต้าติดต่อเรามาค่อนข้างช้าจึงทำให้ค่าโกดังมีราคาสูงดังภาพ
จากภาพจะมีค่าใช้จ่ายเรทเริ่มต้นอยู่แล้วคือประมาณ 1,027 บาท (รวม Vat)
- Delivery Order Fee คิดที่ 360 บาทต่อ 1 ชิปเมนท์
- Terminal Charge 525 บาทต่อ 1 ชิปเมนท์
- Cargo Permit Fee 140 บาทต่อ 1 ชิปเมนท์
- ค่าสำเนาเอกสาร 2 บาทต่อ 1 ชิปเมนท์
ค่าใช้จ่ายข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นหากท่านใช้ชิปปิ้งนอกออกของ ต่อมาจะเป็นค่าโกดังซึ่งจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใน 2 วันแรก จากตัวอย่างคือวันที่ 3-4 มิถุนายน จะไม่คิดค่าโกดัง จากนั้นตั้งแต่วันที่ 5 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่สามารถเคลียร์ของออกมาได้ นับเป็น 12 วัน คลังสินค้า จะคิดค่าโกดัง 425 บาทต่อวัน (ข้อมูลปี 64 สำหรับปี 65 คิดค่าโกดังวันละ 450 บาท) รวมค่าโกดังเป็น 12 x 425 = 5,100 บาท เมื่อนำเข้าไปรวมกับค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอีก 1,027 บาท จะรวมเป็นเงินถึง 6,127 บาท ซึ่งจะสูงมาก ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำใบขนสินค้า ค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนตัวแทนออกของ (ประมาณ 425 บาท) ค่าบริการของชิปปิ้ง และที่สำคัญคือค่าภาษีอากรซึ่งจะคำนวนตามราคาและพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้านั้น ๆ อีกต่างหาก
นำสินค้าเข้ามาทาง DHL แล้วถ้าไม่สามารถเคลียร์สินค้าให้รีบติดต่อชิปปิ้งมืออาชีพด่วน
จากตัวอย่างของค่าใช้จ่ายข้างต้นจะลดลงถึง 5,100 ถ้าหากท่านสามารถเคลียร์และออกของได้ภายในวันที่ 3-4 มิถุนายน เพราะเป็นช่วงที่โกดังจะไม่คิดค่าโกดังใน 2 วันแรก ผมจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรีบติดต่อชิปปิ้งมืออาชีพให้ไวที่สุดหากนำสินค้าเข้ามาทาง DHL แล้วติดอยู่ที่ด่านศุลกากรสุวรรณภูมิ
สรุป
ผมแนะนำว่าหากท่านนำสินค้ามากับ DHL ทางสนามบินสุวรรณภูมิแล้วติดปัญหาไม่สามารถเคลียร์สินค้าออกมาได้ ให้หาสาเหตุก่อนว่าติดปัญหาเรื่องอะไร หากสามารถชี้แจงหรือให้ทาง DHL ดำเนินการได้ก็ให้ทาง DHL ดำเนินการก่อน แต่หากเป็นสินค้าติดใบอนุญาตหรือเป็นเรื่องที่ทาง DHL ไม่สามารถเคลียร์สินค้าออกมาได้ หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับค่าภาษีต่าง ๆ ให้รีบติดต่อชิปปิ้งมืออาชีพเพื่อเข้าไปดำเนินการเคลียร์ของออกมาให้เร็วที่สุด เพื่อประหยัดค่าโกดังที่เพิ่มขึ้นถึงวันละ (450 บาท)
ส่งสินค้า Fedex ติด ศุลกากร
บางครั้งเมื่อส่งสินค้ามากับ Fedex ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่างสินค้า ของใช้ส่วนตัว หรือสินค้าจากเว็บไซท์ E-Commerce ต่าง ๆ แล้วเราตรวจสอบ Tracking หรือมีเจ้าหน้าที่ของ Fedex ติดต่อเรามาว่าสินค้าติดติดอยู่ที่ด่านศุลกากร ทาง…
dhl ติด ศุลกากร
สวัสดีครับเพื่อนเพื่อนวันนี้ JP Cargo Service จะมาแนะนำบทความเกี่ยวกับกรณีที่เราสั่งสินค้ามาแล้วสินค้าส่งมากับ DHL แล้วสินค้าติดอยู่ที่ด่านศุลกากรนะครับ เนื่องจากบางครั้งเมื่อเพื่อนๆ ได้มีการสั่งสินค้าเข้ามาเพื่อ – เป็นตัวอย่างสินค้า- ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในต่างประเทศ- ส่งของใช้ส่วนตัวกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งในการนำเข้าหรือการส่งออกสินค้านั้น เนื่องจากสินค้าบางชนิดจะต้องมีการขออนุญาตก่อนการนำเข้า…
ภาษีในการนำเข้าสินค้า
ภาษีนำเข้าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง ภาษีนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการนั้น และเป็นรายได้ของรัฐบาลประเทศปลายทางที่ใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจและให้บริการส่วนสาธารณะต่างๆ ของประเทศนั้นๆ ภาษีนำเข้าสามารถคิดคำนวณตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ในประเทศหรือพื้นที่ปลายทาง อัตราภาษีนำเข้าอาจแตกต่างกันไปตามสินค้าหรือบริการที่นำเข้า อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณสังเกตและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสินค้าหรือบริการเพื่อให้ไม่เกิดความผิดพลาดหรือความล่าช้าในกระบวนการศุนย์กลางและการนำเข้าสินค้าในประเทศปลายทาง นอกจากนี้ยังควรพิจารณาประโยชน์และเสียของการนำเข้าสินค้าด้วย เพราะภาษีนำเข้าอาจทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขายของสินค้า ทำให้ธุรกิจต้องหาแนวทางในการจัดการความเสี่ยงและกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่เปิดระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สำหรับในการนำเข้าสินค้าในประเทศไทยจะมีภาษีหลักภาษีที่ผู้นำเข้าต้องเสีย คือ อากรนำเข้า จะขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า…
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น
สำหรับท่าน ที่สนใจจะนำเข้าสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร บทความนี้ JP Cargo Service จะมาให้ข้อแนะนำเบื้องต้นในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เข้ามาจำหน่ายหรือเข้ามาใช้ สรุปสั้น ๆ ดังนี้ การวางแผนและศึกษากฎหมาย: ก่อนที่จะนำเข้าสินค้า คุณควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าต่าง…
ความผิดทางศุลกากร
ความผิดทางศุลกากรหรือความผิดกฎหมายศุลกากร ใครได้ยินคำนี้แแล้วรู้สึกว่าน่ากลัว ไม่อยากเจอ แต่ความผิดทางศุลกากรมีอะไรบ้างและมีค่าปรับหรือบทลงโทษอย่างไร สำหรับบทความนี้ JP Cargo Service จะมาอธิบายถึงความผิดทางศุลกากรว่า เมื่อเรานำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก มีความผิดที่มักจะพบอยู่เป็นประจำว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่ไว้เตือนตัวเองให้คอยตรวจสอบข้อมูลที่เราสำแดงในใบขนสินค้า เพื่อลดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด 1. ความผิดฐานสำแดงเท็จ…
สินค้าเร่งด่วน (Express)
สินค้า Express คืออะไร สำหรับสินค้า Express คือสินค้าขาเข้าเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการของเร่งด่วนร้องขอให้กรมศุลกากรตรวจปล่อยทันทีที่ของมาถึง โดยสินค้าเร่งด่วนจะเป็นสินค้าตามประเภท 1-4 เท่านั้น โดยสินค้าเร่งด่วนจะต้องมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท…